กันยายน 26, 2023

Riianroo

ข่าวการศึกษา รอบรั่วมัธยม รอบรั่วมหาวิทยาลัย แนะนำคณะศึกษาต่อ

ราชภัฏ กับ วิทยาลัยครู คืออันเดียวกันหรือไม่

ราชภัฏ กับ วิทยาลัยครู คืออันเดียวกันหรือไม่

       หลายคนอาจจะสงสัยว่าราชภัฏกับวิทยาลัยครู คืออันเดียวกันหรือไม่ บ้างก็บอกว่าราชภัฏคือ มหาวิทยาลัย บ้างก็บอกว่า  วิทยาลัยครู เป็นคล้าย ๆ วิทยาลัยอาชีวะ วิทยาลัยเทคนิค หากยังไม่ได้รู้จักประวัติศาสตร์อย่างแท้จริง แต่ถ้าน้อง ๆ ได้ลองถามคุณพ่อคุณแม่ คุณครู หรือคนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ว่า ราชภัฏ กับ วิทยาลัยครู ใช่อันเดียวไหม พวกท่านต้องบอกว่า “ ใช่ คืออันเดียวกัน ”  เพราะแต่เดิม “ ราชภัฏ ” มีพื้นฐานเดิม คือโรงเรียนฝึกหัด ต่อมากลายเป็น วิทยาลัยครู ซึ่งในยุคนั้นเปิดสอนสาขาวิชาครุศาสตร์  จากนั้นก็มีการเปิดสอนในสาขาวิชาอื่นเพิ่มเติม จึงให้ต้องมีการเปลี่ยนชื่อจากวิทยาลัยครูเป็นราชภัฏ ถ้าหากน้อง ๆ อยากรู้ความเป็นมาของราชภัฏอย่างละเอียด ทาง riianroo ขอเชิญชมไปพร้อมกันได้เลยครับ

      ยุคของโรงเรียนฝึกหัด

 โรงเรียนฝึกหัดครู “สวนสุนันทาวิทยาลัย” ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

โรงเรียนฝึกหัดครู “สวนสุนันทาวิทยาลัย” ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

            มหาวิทยาลัยวิทยาลัยราชภัฏมีฐานเดิมมากจาก “ โรงเรียนฝึกหัด ”  เช่น โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์, โรงเรียนฝึกหัดครูประจำมณฑล มีจุดเริ่มต้นดังนี้

        โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์แห่งแรกทำการสอนเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ.2435 บริเวณโรงเลี้ยงเด็ก ตำบลสวนมะลิ ถนนบำรุงเมือง จังหวัดพระนคร(ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร) จากนั้นจึงขยายไปตั้งทุกภาคของประเทศ

        จากนั้นในปี พ.ศ. 2462 จึงตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประจำมณฑลนครราชสีมา(ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และมณฑลนครศรีธรรมราช (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา) 

        ในปี 2466 ได้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมมณฑลอุดร (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี)   บริเวณสโมสรเสื่อป่ามณฑลอุดรธานี  และมณฑลพายัพ ณ บ้านเวียงบัว จังหวัดเชียงใหม่ (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่) 

       ปี พ.ศ.2483 จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูมัธยม (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม)   เพื่อเปิดสอนในระดับฝึกครูมัธยม โดยรับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนฝึกหัดครูประถม (ป.ป.) และนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาจากชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 มาศึกษาต่อเพื่อเลื่อนจากฐานะครู ป.ป. เป็นครู ป.ม.

         ยุคของวิทยาลัยครู

วิทยาลัยครูจันทบุรี ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

วิทยาลัยครูจันทบุรี ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

                ต่อมาเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2503 กระทรวงศึกษาธิการประกาศยกฐานะจาก โรงเรียนฝึกหัดครู โรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรม โรงเรียนฝึกหัดครูมัธยม ให้เป็น “ วิทยาลัยครู ”  พร้อมกับการเปิดสอนในหลักสูตรประกาศนียบัตรทางการศึกษา (ปก.ศ.) , ประกาศนียบัตรบัตรทางการศึกษาชั้นสูง (ปก.ศ.สูง) , ปริญญาตรีครุศาสตร์บัณฑิต (ค.บ.) โดยให้เป็นสถาบันอุดมศึกษา สังกัดกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ  ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2503   โดยมีวิทยาลัยครูที่เปิดสอนดังนี้

  1. วิทยาลัยครูสวนดุสิต
  2. วิทยาลัยครูสวนสุนันทา
  3. วิทยาลัยครูพระนคร
  4. วิทยาลัยครูธนบุรี
  5. วิทยาลัยครูสงขลา
  6. วิทยาลัยครูอุดรธานี
  7.  วิทยาลัยครูมหาสารคาม
  8. วิทยาลัยครูเลย
  9. วิทยาลัยครูเชียงใหม่
  10. วิทยาลัยครูสงขลา และอื่น ๆ ที่ไม่ได้ยกตัวอย่างมานี้       

          ต่อมาในยุคปี 2527 – 2530 วิทยาลัยครูไม่ได้เปิดสอนในแค่สาขาวิชาการเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ดังนั้นจึงมีการเปิดสาขาวิชาอื่นเพิ่มเติม เช่น สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาศิลปศาสตร์ เพื่อขยายการศึกษาให้กว้างขึ้น         

       ยุคของ “ราชภัฏ”

สถาบันราชภัฏอุดรธานี ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

สถาบันราชภัฏอุดรธานี ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

               ยุคตอนปลายของวิทยาลัยครูมีการเปิดสอนสอนสาขาวิชาอื่นเพิ่มเติม ดังนั้น ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2535 (โดยเอาวันนี้เป็นวันราชภัฏของทุกปี) พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานนามว่า “ ราชภัฏ ” มีความหมายว่า ข้าของแผ่นดิน ส่งผลให้วิทยาลัยครูทั่วประเทศ เปลี่ยนชื่อเป็น สถาบันราชภัฏ ต่อมาในปี 2540 มีการอนุมัติจัดตั้งสถาบันราชภัฏเพิ่มจำนวน 5 แห่งเพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษาสู่ภูมิภาคมากขึ้น

  1. สถาบันราชภัฏชัยภูมิ
  2. สถาบันราชภัฏศรีสะเกษ
  3. สถาบันราชภัฏนครพนม
  4. สถาบันราชภัฏกาฬสินธุ์
  5. สถาบันราชภัฏร้อยเอ็ด

          เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547  พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ลงพระปรมาภิไธย “ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ” และประกาศในกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2547  อันเป็นผลให้สถาบันราชภัฏทั่วประเทศ เปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏจนถึงปัจจุบัน

         โดยในปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยราชภัฏเปิดสอนทั้งหมด 38 แห่ง ยกเว้น มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เป็นเปลี่ยน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ เป็นเปลี่ยน มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏพนครพนม เป็นเปลี่ยน มหาวิทยาลัยนครพนม

         น้อง ๆ โดยเฉพาะคนที่เรียน ม.6 คงเห็นแล้วใช่ไหมว่า ประวัติศาสตร์ของ “ ราชภัฏ ” นั้นมีนายาวนานแค่ไหน หากน้องคนไหนกำลังเล็งหาเรียนก็ลองดูมหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นตัวหนึ่งในตัวเลือกก็ได้นะครับ

แนะนำบทความที่น่าสนใจ

หลาย ๆ คนน่าจะต้องมีการตั้งคำถามในลักษณะที่ว่า อยากมีเงินเก็บ เริ่มวางแผนการเงินอย่างไรดี แน่นอน ส่วนจะต้องทำอย่างไรบ้าง ตามไปดูกันได้เลย

อยากมีเงินเก็บ เริ่มวางแผนการเงินอย่างไรดี